top of page

บทที่1

Max Chernoff

Photographer

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

โครงงานเรื่อง “มัสตาร์ด เกลือ และเบคกิ้งโซดา ช่วยยืดระยะเวลาการเน่าเสียของอาหาร” มีเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.วิธีการประกอบอาหาร

2.ปัจจัยที่ทำให้อาหารบูดเสีย

3.ส่วนผสมที่ช่วยยืดระยะเวลาการเน่าเสียของอาหาร

4.โครงงานที่เกี่ยวข้อง

1.วิธีถนอมอาหาร

มีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย การถนอมอาหารช่วยให้สามารถเก็บอาหารไว้บริโภคได้เป็นเวลานาน โดยที่อาหารนั้นไม่สูญเสียคุณภาพ ซึ่งวิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธีสามารถทำได้เองและง่ายมาก(ฮั้วจัง เจ้าค่ะ วันที่ 10 สิงหาคม 2015)

วิธีถนอมอาหารมีดังนี้

1. การตากแห้ง
          การถนอมอาหารโดยตากแห้งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดมากที่สุด ใช้ได้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ เป็นวิธีที่ทำให้อาหารหมดความชื้นหรือมีความชื้นอยู่เพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์สามารถเกาะอาศัยและเจริญเติบโตได้ ทำให้อาหารไม่เกิดการบูดเน่า โดยการนำน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม กล้วยตาก เป็นต้นการตากแห้งอาหารประเภทเนื้อ มักใช้เกลือช่วยเพื่อกันการบูดเน่า และช่วยให้มีรสชาติดีขึ้น

2. การดอง
          การถนอมอาหารโดยการดอง โดยใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยจุลินทร์ทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวอื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทร์ทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป

 

3. การเชื่อม

การเชื่อมและการกวนเป็นวิธีถนอมอาหาร โดยอาศัยสารน้ำตาลป้องกันไม่ให้อาหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงบูดเน่าเสียหายการถนอมอาหารโดยการเชื่อม 3 วิธี ดังนี้ 

3.1 การเชื่อมแบบธรรมดา อาจเคี่ยวจนน้ำเชื่อมข้นเหนียว น้ำเชื่อมแทรกซึมเข้าในเนื้อของสิ่งที่เชื่อมแล้วใช้น้ำเชื่อมที่เหลือแช่หล่อไว้อีกชั้นหนึ่ง เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ขนุนเชื่อม เป็นต้น หรืออาจเคี่ยวต่อไปจนน้ำเชื่อมแก่จัด เมื่อเย็นลงจะแห้งและแข็งตัว

 

3.2 การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม  เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง มักใช้กับผลไม้ที่มีรสขม รสขื่น หรือรสเปรี้ยวจัด ทำให้สิ่งนั้นรสจืดลงเสียก่อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำเกลือ แช่น้ำปูน  แช่สารส้ม เป็นต้น  

 

          3.3 การฉาบ เป็นการนำเอาผักหรือผลไม้ที่ทำสุกแล้ว เช่น เผือกทอด มันทอด กล้วยทอด เป็นต้น วิธีฉาบคือเคี่ยวน้ำตาลให้เป็นน้ำเชื่อมแก่จัดจนเป็นเกล็ด แล้วเทลงผสมคลุกเคล้ากับของที่ทอดไว้ ทิ้งไว้ให้เย็นจนน้ำเชื่อมเกาะเป็นเกล็ดติดอยู่บนผิวอาหารที่ฉาบ

4. การกวน

คือ การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น

6. การรมควัน

การรมควันเป็นการถนอมอาหารที่ต่างไปจากการ ตากแห้งธรรมดา นอกจากจะทำให้อาหารแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาให้อาหารเก็บได้นาน มีกลิ่นหอมและรสชาติแปลกซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก การรมควันที่สามารถทำได้ในครอบครัวจะเป็นแบบธรรมชาติโดยการสุมไฟด้วยไม้กาบมะพร้าว ขี้เลื่อย ซางข้าวโพด ให้แขวนอาหารไว้เหนือกองไฟใช้ไฟอ่อนๆเพื่อให้รมควันอาหารไปพร้อมกับไอร้อนจะช่วยทำให้อาหารแห้งเร็ว เช่น รมควันปลา เป็นต้น

 

2. ปัจจัยที่ทำให้อาหารบูดเสีย

อาหารเสีย คือการที่อาหารเปลี่ยนจากสภาพปกติไปในทางไม่พึงประสงค์ การเปลี่ยนแปลงนี้เรารู้สึกได้จากกลิ่น รส การสัมผัส และการมองเห็น การเปลี่ยนแปลงมาจากสาเหตุหลายประการ ตัวการสำคัญคือ อากาศและออกซิเจน ความชื้น แสง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ อุณหภูมิซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้(CharpaTechcenterวันที่8 สิงหาคม  2015)

 

1. อากาศและออกซิเจน

อากาศและออกซิเจนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้อาหารบุดเสีย แต่เป็นเพราะอากาศไม่มีกลิ่น สี รส เราจึงมักไม่ได้นึกถึงหรือบางทีก็ลืมไปเลยว่ามันคือตัวการหนึ่งที่ทำให้อาหารบูดเสีย

๐ อากาศ ประกอบด้วยไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% ที่เหลืออีก1% เป็นแก๊สชนิดต่างๆปนกันอยู่ เราทราบกันดีว่าออกซิเจนจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต แต่ขณะเดียวกันมันก็สร้างผลเสียหายต่อไขมัน สีอาหาร ไวตามิน กลิ่นรสของอาหาร และส่วนประกอบอาหารอื่น ๆ ออกซิเจนทำให้อาหารบูดเสียได้หลายวิธี มันอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ออกซิเจนสร้างความเสียหายแก่อาหารโดยมีเอ็นไซม์ช่วย ออกซิเจนสามารถทำให้เกิดออกซิเดชันจุลินทรีย์ ออกซิเจนอำนวยสภาวะที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ แบคทีเรียมีทั้งประเภทที่ต้องการออกซิเจนสำหรับการเจริญติบโต (aerobe) และประเภทที่เติบโตเมื่อไร้ออกซิเจน (anaerobe) แต่ก็มีแบคทีเรียจำนวนมากเจริญเติบโตได้ดีไม่ว่าในสภาพมีหรือไม่มีออกซิเจน เราเรียกแบคทีเรียพวกนี้ว่า facultative anaerobe เชื้อราและยีสต์ส่วนใหญ่ที่ทำให้อาหารบูดเสียต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต เราจะพบเห็นมันขึ้นตามผิวหน้าอาหารเมื่ออาหารสัมผัสอากาศ

เอ็นไซม์ เอ็นไซม์บางชนิดมีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ เรียกว่า ออกซิไดซิงเอ็นไซม์ (oxidising enzyme) เอ็นไซม์เหล่านี้ช่วยเร่งปฏิกริยาเคมีระหว่างออกซิเจนกับองค์ประกอบของอาหาร ซึ่งนำไปสู่การบูดเสียของอาหาร ถึงแม้ออกซิไดซิงเอ็นไซม์จะมีอยู่หลายชนิด แต่มีอ2 ชนิดที่ทำให้ผักที่หั่นเป็นชิ้น ๆ มีสีคล้ำ ได้แก่ คาทาเลส (catalase) และเพอร์ออกซิเดส (peroxidase) การเกิดสีน้ำตาลในผักเป็นเพราะเอ็นไซม์พวกนี้ ซึ่งมักตามด้วยการเสียรสชาติและกลิ่นรส หนทางยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์พวกนี้ ได้แก่วิธีใช้ความร้อนง่าย ๆ เช่นการลวก

๐ ออกซิเจน     อาหารเสียเกิดจากตัวออกซิเจนเองโดยตรงก็ได้ การบูดเสียโดยปฏิกริยาออกซิเดชันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไขมันหรือส่วนที่เป็นไขมันในอาหารเสื่อมคุณภาพ เมื่อไขมันถูกออกซิไดซ์จะมีสารประกอบคาร์บอนสายโซ่สั้น ๆ เกิดขึ้น สารประกอบพวกนี้มีกลิ่นรสรุนแรงจนอาหารไม่น่ารับประทานและไม่เป็นที่ยอมรับมาก ๆ กลิ่นหืนจากการบูดเสียแบบนี้จะฉุนและแสบจมูก ลักษณะกลิ่นนี้เรียกกันต่าง ๆ เช่น กลิ่นคล้ายน้ำมันดอกฝ้าย กลิ่นไขสัตว์ กลิ่นคาว กลิ่นคล้ายน้ำหอม

 

2. ความชื้น

อาหารทุกชนิดมีความชื้นเป็นองค์ประกอบสำคัญ ปริมาณน้ำในอาหาร (เปอร์เซ็นต์น้ำ) มีอิทธิพลกับหน้าตา รสสัมผัส และรสชาติอาหาร อาหารสดที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งจะมีน้ำอยู่ไม่น้อยกว่า 70 % ของน้ำหนัก แม้แต่อาหารแห้ง ๆ อย่าง ถั่ว แป้ง ซีเรียล ก็ยังมีน้ำอยู่บ้าง ผักและผลไม้สดมีน้ำมากที่สุด อยู่ระหว่าง 90% ถึง 95% ของน้ำหนัก ตัวอย่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นในอาหารทั่วไปแสดงไว้ในตารางข้างล่าง

อาหาร %

อาหาร %

แอปเปิ้ล84 %

ผักกาดหอม 96 %

ขนมปัง 32-37 %

มายองเนส15 %

เนย 16 %

นม 88 %

คอร์นเฟลก 4 %

ลูกท้อ 89 %

ถั่วแขก 92 %

เนยถั่ว 12 %

แป้ง 12 %

ลูกเกด 8 %

แยม 29 %

สตรอเบอรี่ 90 %

ถึงแม้ปริมาณน้ำในอาหารจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนว่าน้ำอยู่ในอาหารอย่างไร น้ำในอาหารแบ่งออกตามการมีอยู่ (availability) หรือกิจกรรมเชิงชีวภาพ (biological activity) ของมัน โดยอาจอยู่ในรูป “อิสระ (free)” หรือ “มีพันธะ (bound)” น้ำอิสระไม่เกิดพันธะกับองค์ประกอบใด ในอาหาร น้ำนี้จุลินทรีย์สามารถนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต และเช่นกันนำไปใช้ในการเกิดปฏิกริยาเคมีได้ น้ำที่มีพันธะ คือน้ำที่เชื่อมกับองค์ประกอบ (โมเลกุล) ขนาดใหญ่ในอาหารทางกายภาพ จึงไม่มีให้จุลินทรีย์นำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตได้ และไม่สามารถมีส่วนร่วมในปฏิกริยาเคมี

น้ำหรือความชื้นมีผลต่อการรักษาคุณภาพของอาหารอย่างมาก หากอาหารดูดความชื้นมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดการบูดเสีย การบูดเสียเกิดขึ้นโดย

๐ จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ต้องการน้ำเพื่อละลายอาหารของมัน น้ำพาอาหารเข้าเซลล์ของแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา เพื่อให้มีพลังงานและการเจริญเติบโต น้ำยังพาผลิตภัณฑ์ของเสียออกจากเซลล์

๐ ปฏิกริยาเคมี ความชื้นในอาหารยังทำหน้าที่ช่วยให้เกิดฏิกริยาเคมีระหว่างองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารอาหารบูดเสียอาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความชื้นสัมพัทธ์เล็กน้อย ความชื้นอาจกลั่นตัวบนผิวหน้าของผลิตภัณฑ์ และนี่เองก่อให้เกิดตำหนิในอาหารที่พบบ่อย ๆ เช่น เชื้อราที่เมล็ดธัญพืช เมล็ดซีเรียลที่ชุ่มชื้น การจับตัวเป็นก้อนแข็งในผลิตภัณฑ์แห้ง ๆ เช่น แป้งหรือแป้งผสมสำเร็จรูปสำหรับทำเค้ก ซึ่งสามารถเกิดได้ถ้าความชื้นสูงเกินไป ตำหนิอื่น ๆ ที่อาจพบ เช่น การเกิดรอยด่างดำ ตกผลึก และเหนียวหนึบ ความชื้นที่กลั่นตัวบนผิวหน้าอาหารยังก่อให้เกิดสภาวะที่แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากมาย ตำหนิทางกายภาพ เช่น การกระเทาะ รอยแตก การแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเกิดขึ้นเมื่ออาหารสูญเสียความชื้น

    การควบคุมน้ำในอาหารทำได้โดย

๐ การทำให้แห้ง การทำให้ข้น และการระเหยน้ำ โดยการกำจัดน้ำจนถึงระดับหนึ่ง จะช่วยลดหรือป้องกันปฏิกิริยาการบูดเสียของอาหารได้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วิธีถนอมอาหารโดยเทคนิคการทำให้แห้ง เหล่านี้ เช่น นมผง มันฝรั่งฝาน เครื่องดื่มปรุงสำเร็จรูป นมระเหยน้ำ และน้ำส้มคั้นเข้มข้น

๐ การแช่แข็ง การแช่แข็งเป็นการเปลี่ยนรูปน้ำจากของเหลวไปเป็นของแข็ง ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ และปฏิกิริยาเคมีขาดน้ำที่จะนำไปใช้งาน

๐ การใช้สารเติมแต่งอาหาร มีการใช้น้ำและเกลือเพื่อให้มันรวมตัวกับน้ำในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด ดังนั้นจึงทำให้ขาดแคลนน้ำสำหรับการเติบโตของจุลินทรีย์และปฏิกิริยาชีวเคมี

 

3. แสงสว่าง

โดยมากแล้วอาหารจะถูกแสงไม่ว่าจะเป็นแสงธรรมชาติหรือแสงประดิษฐ์ การได้รับแสงอาจทำให้อาหารเสื่อมสภาพ (photodegradation) หรือเสียไปเลย ตามปกติการเสื่อมสภาพเพราะแสงนี้ มักเกิดขึ้นกับองค์ประกอบอาหารอย่างพวกรงควัตถุ ไขมัน โปรตีน และไวตามิน อีกทั้งยังมีผลทำให้สีซีดลง กลิ่นรสเปลี่ยนไป และสูญเสียไวตามิน

แสงที่อาหารดูดซึมเข้าไปเป็นสาเหตุของการเกิดปฏิกิริยาเสื่อมสภาพ (deteriorative reaction) กับองค์ประกอบอาหาร ในอาหารแข็ง ส่วนใหญ่แล้วแสงจะทะลุทะลวงเข้าไปได้เพียงแค่ชั้นนอก ๆ ของผลิตภัณฑ์อาหาร จึงทำให้การสื่อมสภาพเพราะแสงเกิดขึ้นแต่ในชั้นผิว ๆ นี้ อาหารที่ผิวหน้ามีสีจางลงย่อมมีผลกระทบกับการยอมรับในผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ของผู้ซื้อ

แสงทะลุทะลวงเข้าไปในอาหารเหลวได้มากกว่าอาหารแข็ง การกวนส่วนผสมของอาหารอาจทำให้องค์ประกอบอาหารส่วนใหญ่เสิ่อมสภาพลง ความไวแสงของอาหารขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ความเข้มของแสง กับชนิดของแสงที่อาหารสัมผัส ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับอาหาร ระยะเวลาการถูกแสงของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ความเข้มข้นของออกซิเจนในอาหาร อุณหภูมิ

4. การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

พวกจุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ ทำให้อาหารบูดเสียได้ ตัวอย่างเช่น จุลินทรียืที่ย่อยสลายไขมันในเนยที่ไม่ได้ใส่เกลือทำให้เนยมีกลิ่นหืน แบคทีเรียที่ย่อยสลายโปรตีนในเนื้อสัตว์ (proteolytic bacteria) ทำให้เกิดกลิ่นเน่า เช่นเดียวกับนม ถ้าเก็บนานไปหรือเก็บที่อุณหภูมิไม่เหมาะ นมจะเปรี้ยว แบคทีเรียในนมที่รอดจากการฆ่าเชื้อโดยวิธีพาสเจอไรซ์ จะเติบโตและผลิตกรดจากน้ำตาลแล็คโทส ที่มีในนมตามธรรมชาติ

แหล่งที่อยู่ทั่วไปของพวกจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเสียได้แก่ อากาศ ดิน น้ำเสีย และของเสียจากสัตว์ จุลินทรีย์บางชนิดที่เจริญเติบโตในดินแต่อาจพบมีอยู่เองตามผิวหน้าของอาหาร สามารถทำให้อาหารบูดเสียได้ แบคทีเรียจากอวัยวะบางส่วนของสัตว์ เช่น เครื่องใน หนัง และ/หรือเท้า อาจปนเปื้อนเนื้อสัตว์และปลา เนื้อสัตว์เมื่อบดเพื่อทำแฮมเบอร์เกอร์หรือไส้กรอกจะเกิดการปนเปื้อนได้รวดเร็ว เพราะแบคทีเรียที่โดยปกติจะอยู่ด้านนอกของเนื้อ จะเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในเนื้อสับซึ่งมีถุงอากาศมากมาย และเป็นแหล่งให้ความชื้นสูงมาก เนื้อปลาถูกปนเปื้อนง่ายกว่าเนื้อสัตว์อื่นเพราะบอบบางกว่า ดังนั้นจึงถูกแทรกซึมเข้าไปในเนื้อง่ายกว่า กระบวนการสเตอริไรซ์เพื่อฆ่าเชื้อในอาหารกระป๋องช่วยให้เก็บผลิตภัณฑ์ได้นานขึ้น ถ้าอาหารกระป๋องผ่านกระบวนการที่ไม่เหมาะสม อาหารอาจบูดเสียหรือสร้างความกังวลในความปลอดภัยของอาหาร กระป๋องจะบวมเพราะมีแก๊สที่แบคทีเรียคลอสทริเดียม (Clostridium) ผลิตออกมา การบูดเสียที่เกิดรสเปรี้ยวโดยปราศจากแก๊สตามปกติมีแบคทีเรียบาซิลลัส (Bacillus) เป็นสาเหตุ การบูดเสียแบบนี้เรียกว่า flat-sour spoilage แบคทีเรียแล็คโตบาซิลลัสมีผลทำให้เกิดการบูดเสียแบบมีกรด โดยที่มันย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตในอาหารและเกิดกรดปริมาณมาก

5. อุณหภูมิ

อุณหภูมิของอาหารหากควบคุมไม่ได้ที่แล้ว อาหารอาจบูดเสียโดยง่าย ตัวอย่างเช่น ทุก ๆ การเพิ่มอุณหภูมิ 10 C (18 F) ในช่วงอุณหภูมิปานกลางที่ใช้กับอาหารส่วนใหญ่ (10 C หรือ 50 F ถึง 38 C หรือ 100 F) อัตราการเกิดปฏิกริยาเคมีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ด้วยเหตุนี้ความร้อนที่มีเกินพอจะไปเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกริยาของเอ็นไซม์ที่มีอยู่แล้วในอาหาร และปฏิกริยาขององค์ประกอบอื่น ๆ ของอาหาร ทำให้โปรตีนสลายตัวหรือเสื่อมสภาพ อิมัลชันแตก ไวตามินบางชนิดถูกทำลาย ความชื้นสูญเสียทำให้อาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจเกิดผลกระทบกับกลิ่น สี และรสชาติ

การปล่อยอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิเย็นโดยไม่ได้ควบคุมก็เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้เช่นกัน ผักและผลไม้ที่บังเอิญแช่แข็งแล้วปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ก็อาจเกิดผลกระทบกับเนื้อสัมผัสและลักษณะภายนอกของมัน เปลือกและผิวของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักปริออก ทำให้ปนเปื้อนจุลินทรีย์ ได้ง่าย ผลิตภัณฑ์บางอย่างหากแช่แข็งอาจเกิดผลเสีย เช่น ถ้านำมายองเนสไปแช่แข็ง สภาพอิมัลชันของมันจะสลาย ส่วนประกอบมายองเนสจะแยกชั้นกัน

อาหารหลายชนิดเกิดบูดเสียได้ทั้ง ๆ ที่อุณหภูมิมิได้อยู่ในช่วงที่สุดโต่งแต่อย่างใด ความเสียหายจากความเย็นที่เกิดกับผักและผลไม้หลายชนิดอาจเกิดขึ้นแม้ที่อุณหภูมิปกติของตู้เย็น (1C หรือ 35 F ถึง 5C หรือ 40 F) ผลเสียที่เกิดกับผักและผลไม้ที่ตากอยู่ในอุณหภูมิเย็น ได้แก่การที่สีของมันค่อย ๆ เปลี่ยน พื้นผิวเป็นรูโหว่ และปรากฏรอยเน่าต่าง ๆ เพื่อรักษาคุณภาพไว้ให้ดีที่สุด ผักและผลไม้สดที่ไม่ได้หั่น เช่น กล้วยหอม มะนาวฝรั่ง พืชประเภทน้ำเต้า และมะเขือเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 10 C หรือ 50 F

3. ส่วนผสมที่ช่วยยืดระยะเวลาการเน่าเสียของอาหาร

3.1มัสตาร์ด

ด้านพฤษศาสตร์ มัสตาร์ด (Mustard) เป็นพืชในวงศ์และสกุลเดียวกับกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และผักกาดขาว มัสตาร์ดที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมมี 3 ชนิด ได้แก่ มัสตาร์ดสีน้ำตาล (brown mustard) มัสตาร์ดสีดำ (black mustard) และมัสตาร์ดสีขาว (white mustard) มัสตาร์ดสีดำและขาวมีกำเนิดในแถบยุโรปต่อเนื่องกับทวีปเอเชีย และมัสตาร์ดสีน้ำตาลมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่จะใช้มัสตาร์ดสีขาวเป็นเครื่องเทศ และมัสตาร์ดชนิดอื่นใช้ผลิตน้ำมันมัสตาร์ด(LASER VISION THAILAND LASIKวันที่ 10 สิงหสชาคม2015)

ประโยชน์ของมัสตาร์ด

- มัสตาร์ดเป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์
- ผงมัสตาร์ดถูกนำมาใช้กระตุ้นความอยากอาหาร, ป้องกันการอักเสบ, เป็นยาระบาย, ช่วยย่อยอาหาร,บรรเทาอาการอาเจียนและระคายเคือง, แก้ปัญหาไซนัส, ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต อีกทั้งหากโรยผงมัสตาร์ดในถุงเท้าจะช่วยลดอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองได้ด้วย 
- ในส่วนเมล็ดมัสตาร์ดใช้เป็นสารกันบูด
- นอกจากนี้ยังช่วยลดโรคไขข้อและอาการปวดฟันได้

นอกจากนี้ชาวกรีกได้ย้ำสรรพคุณของมัสตาร์ดอีกว่า "มัสตาร์ดเปรียบได้กับโรงงานแห่งคุณประโยชนย์ต่อมวลมนุษยชาติ" เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการใช้รักษาอาการผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากความหนาวเย็นได้

ธาตุสังกะสี (Zinc) หรือ ซิงค์ เป็นตัวช่วยควบคุมให้กระบวนการต่างๆในร่างกายดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคอยช่วยซ่อมบำรุงระบบเอนไซม์และเซลล์ต่างๆ หากร่างกายมีเหงื่อออกมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายต้องสูญเสียสังกะสีไปมากถึง 3 มิลลิกรัม ต่อวัน

แหล่งที่พบซิงค์ได้ในธรรมชาติ ได้แก่ อาหารทะเล หอยนางรม เนื้อสัตว์ เนื้อวัวไม่ติดมันแบบย่าง เนื้อลูกแกะ ตับลูกวัว ไข่ นมผงปราศจากไขมัน มัสตาร์ดแบบแห้ง จมูกข้าวสาลี แป้งงา เนยงา ถั่วลิสง เมล็ดฝักทอง เมล็ดแตงโม เม็ดก๋วยจี๊ ผงโกโก้ ช๊อคโก

แหล่งที่พบ ลูทีน และ ซีแซนทีน ในธรรมชาตินอกจาก จะพบมากในดอกดาวเรือง และโกจิเบอร์รี่(เก๋ากี้) แล้ว ยังพบใน กะหล่ำ ผักโขม ถั่วลันเตา ต้นอ่อนกะหล่ำดาว ถั่วพิสตาชิโอ บรอกโคลี มัสตาร์ด เป็นต้น

          3.2 เกลือ

(ฮันนี่พัฟฟี่ วันที่ 10 สิงหาคม2015) ในทางวิทยาศาสตร์เกลือนั้นหมายถึง เกลือที่ใช้ในการปรุงอาหาร (cooking salt หรือ table salt) ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า Sodium Chloride (NaCl) เกลือบริสุทธิ์นั้นมีลักษณะสีขาว ผลึกรูปร่างไม่คงที่ แต่จัดว่าเป็นแบบ ลูกบาศก์ (Cubic system) เกลือมีคุณสมบัติในการดูดความชื้น  (Hygroscopic) และจะมีคุณสมบัตินี้มากขึ้น ถ้าเกลือนั้นไม่บริสุทธิ์ แต่ในการนำเกลือมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารนั้น จึงมีการนำเกลือมาทำบริสุทธิ์ก่อน 
การเก็บเกลือเป็นจำนวนมากในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ปัญหาที่มักพบคือ ความชื้น กล่าวคือเกลือจะดูดความชื้นเข้าไปจนละลายหรือเกิดการเกาะติดกันหรือที่เรียกว่า “caking” หรือ “hardening” ดังนั้นควรเก็บไว้ในสถานที่ที่ค่อนข้างแห้ง และไม่เก็บในลักษณะเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ เกินไป ถ้ามีการวางซ้อนกันนาน ๆ ควรคอยสับเปลี่ยนถุงจากล่างขึ้นบน 

เมื่อใดที่มีความชื้นสูงขึ้นเกลือจะดูดความชื้นแล้วกลายเป็นสารละลายอีกและตกผลึกเมื่อความชื้นลดลงหรือเมื่อน้ำระเหยออกไปเป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดเวลา ผลึกเกลือจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ เกลือแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการดูดความชื้นที่แตกต่างกัน 

เกลือปรุงอาหาร Cooking salt หรือ Table Salt มีซึ่งทางเคมีว่า โซเดียมคลอไซด์ : Naclมีสถานะเป็นผลึกสีขาว มีรสเค็ม ละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติใการดูดความชื้น 

hygroscopicityการดูดความชื้น เกิดจากสมบัติของสารที่แสดงถึงแนวโน้มของสารนั้นในการดูดน้ำเมื่อความดันไอของความชื้นในอากาศสูงกว่าความดันไอของสารละลายอิ่มตัวของสารนั้น

                3.3 เบกกิ้งโซดา

เบกกิ้งโซดา หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือ ผงฟู มีชื่อทางการค้าที่เรียกกันทั่วไปหลายชื่อด้วยกัน เช่น เบกกิ้งโซดา (Baking Soda), คุ๊กกิ้งโซดา (Cooking Soda), เบรดโซดา (Bread Soda), โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate), ไบคาร์บอเนตโซฟา (Bicarbonate of Soda) เป็นต้น

ประโยชน์ของเบกกิ้งโซดา 62 ข้อ( ฟรินน์.comวันที่ 10 กรกฎาคม 2015)   

1.หากมีอาการเจ็บคอ ให้ผสมเบกกิ้งโซดาครึ่งช้อนชาลงในน้ำเปล่า แล้วนำมาใช้กลั้วคอทุก ๆ 4 ชั่วโมง ก็จะช่วยลดอาการเจ็บคอที่เกิดจากกรดได้

2.ใช้รักษาแผลในช่องปาก ให้ใช้เบกกิ้งโซดาครึ่งช้อนชาผสมลงในน้ำเปล่า แล้วนำมาใช้กลั้วคอ

ทุก ๆ 4 ชั่วโมง

3.ช่วยทำให้เรอ ด้วยการใช้ผงฟูนำมาผสมกับน้ำดื่ม จะช่วยทำให้เรอและแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้

4.โซเดียมไบคาร์บอเนตสามารถนำมารับประทานเพื่อช่วยในการลดกรดในกระเพาะอาหารได้

5.ช่วยบรรเทาอาการของลมพิษ ด้วยการใช้ผงเบกกิ้งโซดานำมาผสมกับน้ำ 2-3 หยด (พอให้ได้เป็นแป้งเปียก) แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นผื่นเพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองและแก้อาการคัน

6.หากถูกแมลงกัดต่อย ก็ให้ใช้เบกกิ้งโวดาผสมกับน้ำ แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

7.ใช้บรรเทาอาการผิวไหม้แดด ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดาผสมลงในน้ำอุ่นสำหรับอาบ แล้วนำมาอาบก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่เกิดจากผิวไหม้แดดได้

8.หากเป็นฮ่องกงฟุต (อาการคันตามง่ามเท้าเพราะติดเชื้อรา) ให้ใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำให้พอเหนียว แล้วนำมาทาที่เท้า หลังจากนั้นให้ล้างเท้าและเช็ดให้แห้ง แล้วปิดท้ายด้วยการนำแป้งข้าวโพดมาทาบริเวณที่คันอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยลดอาการคันและอาการแสบร้อนตามง่ามนิ้วเท้าได้

9.ช่วยทำให้ผิวเนียนใส ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำข้าวโอ๊ต นมสด และน้ำผึ้งนำมาขัดเบา ๆ เพื่อผิวที่สะอาดใสขึ้น (จะขัดส่วนไหน ส่วนนั้นต้องเปียกน้ำก่อน ส่วนไหนบอบบางก็ให้ขัดเบา ๆ และให้ทำเป็นประจำนะครับ แต่ไม่ต้องถึงขนาดต้องทำทุกวันนะครับ))

10.ใช้ทำสครับขัดหน้าได้ดี สูตรแรกให้ใช้เบกกิ้งโซดา 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ, ข้าวโอ๊ต1 ช้อนโต๊ะ, และน้ำสด 2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมรวมกันใช้ขัดผิวหน้าเบา ๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่าเย็น ๆ จะช่วยทำให้หน้าใสได้ ส่วนสูตรที่ 2 ให้ใช้เบกกิ้งโซดา 3 ส่วน ผสมกับน้ำเปล่า 1 ส่วน โดยผสมกันให้ได้เปียก ๆ แล้วนำมาขัดผิวหน้าเบา ๆ จนสะอาด

11.ใช้ทำสครับขัดผิว ให้ใช้เบกกิ้งโซดา 1/2 ถ้วย, เกลือ 1/2 ถ้วย, น้ำมันทาผิว 2 ช้อนโต๊ะ, และมะนาว 1 ลูก แล้วนำมาผสมกัน ใช้ขัดผิวในระหว่างอาบน้ำ

12.ใช้ผลัดเซลล์ผิวใหม่ให้สดใสมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 3 ส่วน และน้ำ 1 ส่วน นำมาผสมกันใช้เช็ดถูบริเวณที่ต้องการ แล้วค่อยล้างออก

13.มีบางท่านใช้เบกกิ้งโซดาเพื่อกำจัดสิวเสี้ยน โดยใช้เบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำแล้วเอามาขัดเบา ๆ ที่จมูกไปเรื่อย ๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จะช่วยทำให้สิวเสี้ยนจางลงได้

14.ใช้ทำน้ำยาระงับกลิ่นปาก สูตรแรกให้ใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่น 1 ถ้วย แล้วนำมาใช้บ้วนปากจะช่วยดับกลิ่นปากได้ ส่วนสูตรที่สองให้ใช้เบกกิ้งโซดา 1/2 ช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ 1 แก้ว จะช่วยดับกลิ่นกระเทียมได้ แต่ถ้าใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 1 แก้ว และผสมกับเกลือ 1 ช้อนโต๊ะก็ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากได้เช่นกัน

15.ช่วยทำให้ฟันขาว ขจัดคราบชาหรือกาแฟ ลดหินปูน ให้ใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาผสมกับน้ำมะนาว 1/2 ช้อนชา แล้วใช้แปรงสีฟันจุ่มลงไป นำมาใช้ขัดฟันเบา ๆ แล้วบ้วนน้ำเปล่าจนสะอาด จะช่วยกำจัดคราบชาหรือกาแฟได้ครับ แต่ห้ามทำเวลาป่วยนะครับ เนื่องจากมะนาวมีความเป็นกรดสูงอาจไปทำลายเคลือบฟันได้

16.ใช้ทำสปาเท้า ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 1/2 ถ้วย, เกลือทะเล 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมินต์, และน้ำอุ่นใส่ในกะละมังสำหรับแช่เท้า เมื่อแช่เท้าแล้วจะทำให้รู้สึกสบายเท้า ช่วยฆ่าเชื้อโรค ดับกลิ่นเท้า และความร้อนจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเท้าได้อีกด้วย

17.ช่วยทำให้หนังหุ้มเล็บนุ่มขึ้น ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดาประมาณหนึ่งหยิบมือผสมลงในชามน้ำอุ่น แล้วแช่มือไว้ในนั้นประมาณสองสามนาที ก่อนจะล้างน้ำให้สะอาด จะช่วยให้หนังหุ้มเล็บนุ่มขึ้นได้

18.ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ด้วยการผสมเบกกิ้งโซดาหนึ่งช้อนชาเข้ากับแชมพูสระผมตามที่คุณใช้ปกติ เพื่อช่วยขจัดสารตกค้างจากผลิตภัณฑ์แต่งผม (วิธีนี้จะได้ผลดีเป็นพิเศษกับผมเส้นเล็ก)

19.ลองเปลี่ยนจากแชมพูมาใช้เบกกิ้งโซดาแทนดูสักครั้ง รับรองเลยว่าจะช่วยทำให้รังแคของคุณน้อลงอย่างทันตาเห็น

20.ใช้หมักเนื้อหมูให้นุ่ม ให้ใส่เบกกิ้งโซดาเพียงเล็กน้อย (ใส่มากเกินไปจะมีกลิ่นของสารเคมี) แล้วหมักหมูก็จะทำให้เนื้อนุ่มได้

21.ถ้าอยากได้ไข่เจียวฟูหอมอร่อยน่ารับประทาน ก็ให้ใส่เบกกิ้งโซดาลงไปครึ่งช้อนต่อไข่ 3 ฟอง ก็จะได้ไข่เจียวที่ฟูน่ารับประทาน

22.การทำขนมปังให้ฟูน่ารับประทาน จะนิยมใช้ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตมาใช้ในการทำขนมปังแทนการใช้ยีสต์ เพราะเมื่อผงฟูผสมกับน้ำก็จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกับการใช้ยีสต์ แต่ผลเสียของผงฟูก็คือ หากใส่มากเกินไปก็จะทำให้มีรสเฝื่อนขม และการฟูของขนมปังก็จะหยาบกว่าการใช้ยีสต์ แต่มีข่อดีก็คือ ใช้ได้ง่ายกว่าและเก็บรักษาไว้ได้นานกว่า

23.เค้กกล้วยหอมถ้าจะทำให้ฟูนุ่มน่ารับประทาน ก็ต้องใช้เบกกิ้งโซดาเป็นส่วนผสม

24.ใช้ดับไฟในกระทะ ในกรณีที่มีน้ำมันกระเด็นติดไฟในขณะทำอาหาร หรือว่าไฟติดกระทะ หากเราใช้น้ำเทลงไปบนน้ำมันที่ร้อน ๆ จะทำให้ไฟลุกมากยิ่งขึ้น (เนื่องจากน้ำมันกระจาย) แต่ถ้าเราใช้เบกกิ้งโซดาเทลงไปตรง ๆ เบกกิ้งโซดาเมื่อถูกความร้อนก็จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา จึงช่วยทำให้ไฟลดน้อยลงได้

25.ใช้ทำความสะอาดผักและผลไม้ ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่น 4 ถ้วย (รอให้ส่วนผสมเย็น) แล้วนำมาใช้ล้างผักผลไม้ โดยนำมาแช่ทิ้งไว้สักครู่ แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งหนึ่ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้ผักผลไม้ดูสะอาดน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

26.ใช้ทำเป็นน้ำยาล้างสารพิษจากผักผลไม้ ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 1/2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 10 ลิตร แล้วนำผักผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เสร็จแล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำเปล่าอีก 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยลดสารพิษตกค้างจากผักได้ถึง 90% (หากล้างไม่สะอาด การได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากจนเกินไปก็อาจทะให้ท้องเสียได้)

27.ใช้ทำเป็นน้ำยาขจัดคราบในกาน้ำชาที่เป็นโลหะ ด้วยการเติมน้ำลงในกาน้ำชา แล้วเติมเบกกิ้งโซดาตามลงไป 2 ช้อนโต๊ะ และให้บีบน้ำมะนาวลงไปอีกครึ่งลูก แล้วนำไปต้มประมาณ 15 นาที เสร็จแล้วนำมาขัดและล้างให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง

28.ใช้ล้างจานก็ได้ เพราะผงฟูสามารถขจัดกลิ่นและคราบมันได้ดี ด้วยการใช้ผงฟูเทแล้วใช้ฟองน้ำขัดล้าง หรือจะผสมผงฟูกับน้ำแล้วเอาฟองน้ำจุ่มล้างจานก็ได้

29.ใช้ทำน้ำยาทำความสะอาดเตาไมโครเวฟ ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 4 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่นอีก 1 ลิตร แล้วนำมาผ้ามาชุบแล้วเช็ดทำความสะอาดภายในเตาไมโครเวฟ คราบสกปรกก็จะเช็ดออกได้อย่างง่ายดาย

30.ช่วยขจัดคราบไขมันที่ติดรอบท่อของอ่างล้างจาน (หากปล่อยไว้นานจะทำให้ท่ออุดตันได้) ก็ให้ใช้เกลือแกงใส่ลงไปในท่อประมาณ 2-3 ช้อน จากนั้นให้นำเบกกิ้งโซดาไปต้มกับน้ำให้เดือดแล้วเทลงไปในท่อ ไขมันที่อุดตันอยู่ก็จะหลุดออกมาหมด

31.ใช้ทำความสะอาดเขียง ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำแล้วนำมาใช้ทำความสะอาดเขียง วิธีนี้จะช่วยขัดกลิ่นคาวบนเขียงได้

32.ใช้ขจัดรอยไหม้ตามกระทะหรือหม้อ ด้วยการเอาเครื่องครัวเหล่านั้นนั้นมาแช่ด้วยน้ำอุ่นที่ผสมเบกกิ้งโซดาประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก วิธีนี้จะช่วยทำให้รอยไหม้จางลงได้

33.ใช้แก้ปัญหาท่ออุดตันด้วยคราบไขมันในอ่างล้างจาน ด้วยการใช้เกลือนำมาโรยรอบ ๆ ขอบท่อ จากนั้นให้นำน้ำยาเบกกิ้งโซดา 10 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำร้อน 1 ขวดลิตร แล้วค่อย ๆ ลงไป เกลือและน้ำยาจะช่วยทำให้คราบไขมันหลุดออกได้โดยง่าย และให้ทำซ้ำอีกประมาณ 2-3 รอบ แล้วตามด้วยน้ำเปล่าอีกครึ่งหนึ่ง

34.ใช้ทำเป็นครีมลบรอยขูดขีดบนเครื่องครัว ด้วยการละลายเบกกิ้งโซดา 4 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 1 ลิตร แล้วทำความสะอาดเครื่องครัวที่ทำมาจากสแตนเลส โครเมียม พลาสติก ฟอร์ไมก้า (ยกเว้นอะลูมิเนียม) จะทำให้ริ้วรอยเลือนหายไป

35.ใช้เช็ดทำความสะอาดเตารีด ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำผสมกับเบกกิ้งโซดาแล้วบิดให้พอหมาด หลังจากนั้นนำไปเช็ดใต้เตารีดหรือเครื่องครัวที่ทำมาจากสแตนเลส หรือโครเมียม จะช่วยทำความสะอาดได้หมดจดและไม่เกิดไม่เกิดรอยขูดขีด

36.ใช้ทำความสะอาดเครื่องปิ้งขนมปัง ด้วยการใช้ผงเบกกิ้งโซดาโรยบนผ้าเปียก แล้วเอามาเช็ดตรงตะแกรง ก็จะช่วยทำให้เครื่องปิ้งขนมปังของคุณกลีบมาสะอาดได้เหมือนเดิม

37.ผงฟูมีอนุภาคเล็กเป็นรูปทรงผลึกที่อ่อนนุ่ม จึงนำมาใช้ในการขัดถูได้ดี อีกทั้งยังช่วยดูดกลิ่นเหม็น ความชื้น ฆ่าเชื้อโรค ปรับค่าความเป็นกรดด่าง และไม่กัดกร่อนผิวภาชนะ จึงสามารถนำมาใช้ทำบ้านเรือนได้อย่างดี เช่น ใช้ทำ

38.ความสะอาดหน้าต่างก็ให้ขจัดคราบสกปรกบนขอบและบานหน้าต่างด้วยฟองน้ำเปียก ๆ ก่อนแล้วโรยด้วยผงฟูเล็กน้อย แล้วล้างด้วยฟองน้ำและเช็ดให้แห้ง ถ้าใช้ล้างหน้าต่างบานเกล็ดก็ให้ใช้น้ำอุ่นที่ผสมกับผงฟู 3/4 ถ้วยตวง ราดน้ำให้เปียกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วใช้แปรงขัดออก ถ้าใช้ล้างหน้าต่างอลูมิเนียม ก็ให้ใช้แปรงเปียก ๆ จิ้มลงในผงฟูแล้วเอามาขัดออก และใช้ฟองน้ำหรือผ้านุ่ม ๆ ล้างให้สะอาด หรือถ้าใช้ทำความสะอาดงานไม้ ฝาหนัง หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ก็ได้เช่นกัน (ใช้ผงฟูผสมกับน้ำส้มสายชูและน้ำอุ่น) ถ้ามีรอยด่างเป็นวงหรือรอยจุกบนเฟอร์นิเจอร์ไม้ หากเกิดความร้อนบางครั้งก็อาจขัดออกได้ด้วยการผสมกับยาสีฟันและผงฟูอย่างละเท่ากัน แล้วใช้ผ้านุ่ม ๆ เช็ดออกอย่างเบา ๆ และยังใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงาได้อีกด้วยหากจำเป็น นอกจากนี้ยังใช้ขจัดคราบหยดน้ำบนพื้นไม้ได้อีกด้วย ด้วยการใช้ผงฟูกับผ้าขี้ริ้วหมาด ๆ แล้วเช็ดออก แต่จงจำไว้ว่าเครื่องเรือนที่ทำจากไม้ไม่ควรทำให้เปียก

39.ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีคราบสกปรก (สำหรับพื้นผิวแข็ง ๆ เช่น พื้นครัว พื้นห้องน้ำ อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ) ให้ละลายเบกกิ้งโซดา 4 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุ่น 4 ถ้วย แล้วนำมาเช็ดทำความสะอาด แล้วค่อยล้างออกอีกครั้งหนึ่ง

40.ในกรณีที่มีคราบสกปรกที่ทำความสะอาดได้ยาก ก็ให้ผสมเบกกิ้งโซดากับน้ำอุ่นในปริมาณที่เท่ากันจนข้นเป็นแป้ง แล้วนำมาพอกทิ้งไว้บริเวณที่คราบสกปรกประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วค่อยเช็ดออก หรือจะใช้ฟองน้ำเปียก ๆ เช็ดผงฟูเพื่อใช้เช็ดคราบสีเทียนที่ติดบนผนัง ดินสอ ปากกามาร์คเกอร์ รวมทั้งคราบน้ำมันได้ด้วย โดยให้เช็ดถูเบา ๆ แต่ถ้าเป็นคราบน้ำหมักที่ติดบนเสื่อน้ำมัน ก็ให้ใช้ผงฟูข้น ๆ ป้ายบริเวณรอยหมึกทิ้งไว้จนแห้งสักครู่ก่อนจะเช็ดออก แล้วใช้ผงฟูใหม่ ๆ ขัดออกอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าใช้เพื่อเช็ดถูคราบสกปรกที่เกิดจากรอยลากไปมาบนพื้นเสื่อน้ำมัน ก็ให้ใช้ผงฟูผสมกับน้ำเปียก ๆ ข้น ๆ แล้วนำมาเช็ดถูบริเวณที่เป็นรอย

41.ใช้ทำความสะอาดคราบที่เกิดจากกรด (กรดจากแบตเตอรี่ ปัสสาวะ หรือคาบอาเจียน) อย่างแรกให้ทำความสะอาดด้วยการใช้น้ำเย็นซะออกแรง ๆ โดยทันทีถ้าเป็นไปได้ จากนั้นจึงทำให้เกิดสภาพความเป็นกลางโดยใช้ผงฟู

42.หากใช้ผงฟูสัก 1 ถ้วยตวง เทลงในโถส้วมหรือท่อน้ำทิ้งเป็นประจำสัปดาห์ละครั้ง ก็จะช่วยคงสภาพความเป็นกรดและด่างได้ เพราะสภาพความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมจะช่วยทำให้แบคทีเรียแตกตัวและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการตกค้างและการอุดตันได้

43.ใช้ทำความสะอาดผนังที่มีคราบเขม่าควันดำ (ใช้เศษผ้าชื้น ๆ และผงฟูละลายเข้มข้น นำมาเช็ดถู) หรือใช้ทำความสะอาดเครื่องประดับลวดลายลูกไม้ประเภทต่าง ๆ

44.ใช้ทำความสะอาดแป้นพิมพ์ดีด ด้วยการใช้แปรงสีฟันขนอ่อน ๆ ขัดโดยใช้ผงฟู 4 ช้อนโต๊ะที่ละลายกับน้ำ 1 ถ้วยตวง จากนั้นให้ใช้กระดาษชำระเช็ดออก

45.การใช้ผงฟูอย่างสม่ำเสมอยังช่วยป้องกันไม่ให้แทงค์คอนกรีตหรือแทงค์ที่ทำจากโลหะผุกร่อนได้ง่ายอีกด้วย โดยเฉพาะในบริเวณของฝาแทงค์ที่ต้องสัมผัสกับไอระเหยที่ผุกร่อนได้ง่าย

46.เราสามารถใช้ผงฟูผสมกับน้ำเพียงเล็กน้อยให้เปียกข้น แล้วนำมาใช้อุดรูตามผนังที่มีรอยปูนแตกร้าว เพื่อซ่อมแซมเป็นการชั่วคราวได้ เพราะถ้ามันแห้งแล้วจะดูกลมกลืนเข้าไปกับฝาผนังปูนพลาสเตอร์ขาว

47.ใช้ทำน้ำยาดับกลิ่นพรม ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 1/2 ถ้วย นำมาผสมกับแป้งข้าวโพด 1/2 ถ้วย แล้วหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบลงไปประมาณ 15 หยด จากนั้นนำมาใส่ขวดสเปรย์ใช้ก่อนนำมาใช้ฉีดบนพื้นพรมก่อนนอนทิ้งไว้จนเช้า จะช่วยทำให้กลิ่นพรมสะอาดสดชื่นขึ้น หรืออีกวิธีให้โรยเบกกิ้งโซดาให้ทั่ว แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยดูดออกด้วยเครื่องดูดฝุ่น

48.ใช้ทำความสะอาดพรม ด้วยการใช้ผงฟูผสมกับน้ำอุ่น 1 แกลลอน หรือจะนำมาซักในถุงน้ำก็ได้ แต่ถ้าจะทำความสะอาดเฉพาะบริเวณที่มีคราบสกปรกโดยการแปรงด้วยมือ ก็ให้โรยผงฟูเล็กน้อยลงบนคราบ ทิ้งไว้สักครู่ก่อนจะเช็ดออกด้วยฟองน้ำหรือผ้าโดยเฉพาะ

49.หากพรมเปื้อนคราบน้ำมัน ให้เทน้ำที่ผสมกับเบกกิ้งโซดาลงไปตรงบริเวณที่เป็นคราบ แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง คราบก็จะจางลง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำผสมกับเบกกิ้งโซดาเช็ดทำความสะอาดซ้ำอีกครึ่งหนึ่ง หรือถ้าใช้ขจัดคราบไวน์หรือคราบสกปรกมันบนพรม ก็ให้ใช้ผงฟูโรยบาง ๆ ทันทีที่มีรอยเปื้อน ทำซ้ำหรือค่อย ๆ เติมผงฟูใหม่อีกครั้งถ้าจำเป็น แล้วทิ้งไว้สักพักจนกว่าผงฟูจะดูดซับคราบสกปรก แล้วค่อยใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดออกให้หมด

50.ใช้ทำเป็นน้ำยาทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ ด้วยการเทเบกกิ้งโซดา 1/2 กล่อง ลงในถังน้ำหลังชักโครกทิ้งไว้ 1 คืน แล้วจึงค่อยกดชักโครก จะช่วยทำให้ถังและชักโครกสะอาดและปราศจากกลิ่นได้

51.หากรองเท้ามีกลิ่นเหม็นที่เกิดจากการหมักหมมมานาน ให้นำเบกกิ้งโซดามาโรยในรองเท้า แล้วนำรองเท้าคู่นั้นมาใส่ในถุงพลาสติดรัดให้แน่น แล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นประมาณ 1-2 คืน (-_-“) แล้วค่อยนำรองเท้าออกมาทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง หลังจากนั้นนำรองเท้าไปสลัดผงเบกกิ้งโซดาออกให้หมดแล้วนำมาสวมใส่ได้เลย แต่ถ้ายังไม่นำมาสวมใส่ทันทีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นก่อนจนกว่าจะนำมาสวมใส่ หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ขยำเป็นก้อน ๆ มาใส่ไว้ในรองเท้าอีกก็ได้ (หมึกของกระดาษหนังสือพิมพ์จะช่วยดูดกลิ่นและยังทำให้รองเท้าอยู่ทรงอีกด้วย)

52.ช่วยแก้ปัญหากลิ่นในรถ และกลิ่นบุหรี่ในรถ ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดานำมาโรยลงไปที่ก้นที่ใช้เขี่ยบุหรี่ในรถ เบกกิ้งโซดาจะช่วยดับกลิ่นได้ แต่ก็ต้องนำมันออกมาทำความสะอาดด้วยการเทขี้เถ้าทิ้ง แล้วให้โรยผงเบกกิ้งโซดาไว้ที่ถาดเสมอ ๆ

53.ใช้ดับกลิ่นท่อและแก้ปัญหาท่อตัน ด้วยการเทเบกกิ้งโซดาลงไปในท่อประมาณ 1 ถ้วยก่อนแล้วให้ใส่เกลือแกงประมาณ 1/4 ถ้วยลงไป แล้วตามด้วยน้ำร้อน จะทำให้ท่อไม่ตันและปราศจากกลิ่น

54.ใช้ดับกลิ่นอับในตู้เย็น ตู้กับข้าว ตู้รองเท้า ห้องทาสีใหม่ หรือใช้ในโรงงาน เพื่อขจัดกลิ่นสี กลิ่นสารระหาย กลิ่นน้ำยาต่าง ๆ ฯลฯ ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดานำมาเปิดฝากล่องด้านบนออกให้หมดหรือเทใส่ถ้วย แล้วนำมาทิ้งไว้ด้านในสุดของตู้เย็น (เปลี่ยนทุก ๆ 3 เดือน) เบกกิ้งโซดาจะช่วยดูดกลิ่นอับในตู้เย็นได้ แต่ถ้าเป็นตู้กับข้าวตู้รองเท้า ห้องทาสีใหม่ ฯลฯ ก็ให้เทใส่จานหรือถาดหรือนำไปโปรยในบริเวณที่มีกลิ่นเหม็นอับ (ปิดห้อง ปิดตู้ให้สนิทด้วยละครับ) แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้มันดูดกลิ่นประมาณ 1-2 วัน

55.ใช้กำจัดกลิ่นเหม็นอับตกค้างบนไม้ถูพื้นหรือไม้กวาด ด้วยการนำไม้ถูพื้นมาแช่ในน้ำ 1 ถัง ที่ละลายกับผงฟู 4 ช้อนชา แต่ให้แช่หลังจากที่ทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกไปแล้ว หลังแช่เสร็จให้นำมาตากให้แห้ง

56.ใช้ดับกลิ่นแมว ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดาเทลงไปใน Litter box หรือห้องน้ำของแมว ก่อนที่จะใส่ Litter หลังจากนั้นทุกครั้งที่จะทำความสะอาด Litter box พอตักอึแมวไปแล้วก็ให้เอาเบกกิ้งโซดาโรยนิด ๆ ที่บ้านเพื่อเป็นการกลบกลิ่น

57.ใช้ดับกลิ่นอับของเสื้อผ้า ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดาครึ่งถ้วยหรือประมาณ 8 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับผงซักฟอกชนิดน้ำในปริมาณที่จะใช้ แทนที่เราจะใช้สารฟอกขาวชนิดคลอไรด์1 ถ้วยเต็ม ๆ แต่เราสามารถใช้เบกกิ้งโซดาเพียงครึ่งถ้วยเพื่อใช้แทนได้ แต่ถึงเบกกิ้งโซดาจะใช้ซักเสื้อได้ แต่มันก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่ากับผงซักฟอก เบกกิ้งโซดาจึงเป็นเพียงส่วนเสรมที่นำมาใช้ทำให้ผ้าสะอาดมากขึ้นเท่านั้น

58.นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ภาชนะหรือกระเป๋าเดินทางของคุณมีกลิ่นเหม็นอับชื้นจากเชื้อรา ด้วยการโรยผงฟูลงบนภาชนะข้าวของเครื่องใช้ก่อนที่จะเก็บเข้าที่เข้าทางอย่างมิดชิด หรือจะใช้โรยลงในโถส้วม อ่างล้างจาน อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ หรือโรยบนฝักบัวทิ้งไว้หากเราจะหยุดใช้ชั่วคราวในกรณีที่ไปพักร้อน หรือจะใช้ขจัดกลิ่นเหม็นอับของผ้าห่ม ผ้านวม หลังจากที่เก็บไว้นาน ๆ ก็ให้โรยผงฟูลงบนผ้านั้นแล้วม้วนเก็บทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วค่อยสะบัดออก หรือจะนำมาใช้ขจัดกลิ่นตกค้างบนผ้าปูโต๊ะด้วยการนำมาผ้าปูโต๊ะมาแช่ในน้ำนะลายผงฟูก็ได้

59.ใช้ทำเป็นน้ำยาซักผ้าขาว สูตรแรกให้ใส่ผงเบกกิ้งโซดา 1/2 ถ้วยลงในเครื่องซักผ้าพร้อมกับน้ำยาซักผ้า วิธีนี้จะช่วยทำให้ผ้าขาวและสีสดขึ้นได้ ส่วนสูตรที่สองให้ใช้ตอนซักผ้า โดยให้ใส่เบกกิ้งโซดา 1/2 ถ้วยลงไปในน้ำสุดท้ายที่กำลังจะล้างฟองออก ก็จะช่วยทำให้ผ้ามีกลิ่นสะอาดยิ่งขึ้น

60.ใช้ล้างแปรงและหวี ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา นำมาผสมกับน้ำอุ่นในชามอ่างเล็ก ๆ แล้วนำแปรงหรือหวีมาแช่ทิ้งไว้ แล้วนำมาล้างอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยทำให้คราบต่าง ๆ ที่ติดอยู่ตามซอกหลุดออกมาได้โดยง่าย

61.ใช้ทำความสะอาดที่ดัดฟัน (Retainers) ด้วยการใช้เบกกิ้งโซดา 2 ช้อนชาผสมกับน้ำอุ่น 1 ถ้วยแล้วนำที่ดัดฟันมาแช่ทิ้งไว้สักพัก แล้วค่อยเอาแปรงขัดคราบออกอีกครั้งหนึ่ง

62.ใช้ปรับสภาพของสระว่ายน้ำหรือตู้ปลาให้มีความเป็นกลาง เนื่องจากการเติมคลอรีนมากเกินไปและทำให้สระว่ายน้ำมีความเป็นกรดมากเกินไป

4.โครงงานที่เกี่ยวข้อง

4.1 โครงงานการศึกษาประสิทธิภาพของผงข่า ปริมาณต่างๆ ในการยืดอายุการเก็บรักษาเค้กโดยออกฤกษ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

(นพัตจันทรวิสูตร ,ASTVผู้จัดการออนไลน์วันที่ 15สิงหาคมคม 2015) 

นพัตจันทรวิสูตร โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง“การศึกษาประสิทธิภาพของผงข่า ปริมาณต่างๆ ในการยืดอายุการเก็บรักษาเค้กโดยออกฤกษ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา” ซึ่งเป็นการนำสมุนไพรมาใช้แทนการใส่สารกันบูด
       
       นพัตอธิบายถึงวิธีการทดลองว่าได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 

ขั้นที่ 1 เป็นการเตรียมเค้ก เมื่อตีเนื้อเค้กแล้วนำมาแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนแรกไม่ใส่ข่าซึ่งเป็นชุดควบคุม ที่เหลือเติมผงข่าในปริมาณที่ต่างกัน แล้วนำไปอบ
          ขั้นที่ 2 นำเค้กแต่ละถ้วยมาใส่ถุงพลาสิตกแล้วรีดปิดให้สนิท นำไปวางในบริเวณเดียวกัน และจดบันทึกผลการสังเกตการขึ้นราทุก 24 ชั่วโมงว่าเริ่มขึ้นวันที่เท่าไหร่ รวมทั้งวัดเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลมที่มีเชื้อรากระจายอยู่เพื่อนำมาคำนวณพื้นที่ ทำการเก็บข้อมูล 20 วัน ทำซ้ำอีก 2 ครั้ง

ขั้นที่ 3 ให้ชิมรสชาติของเค้กที่ผสมผงข่าว่าพึงพอใจในรสชาติอย่างไรเพื่อนำมาวิเคราะห์ผล
        จากผลการทดลองพบว่าผงข่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้โดยที่ความสามารถในการยับยั้งแปรตามกับปริมาณของผงข่าที่ใส่ปกติ
      

 

 

 4.2 โครงงานหมูแดดเดียว(การถนอมอาหาร)

 (โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์,Fairy wingsวันที่ 27 กันยายน 2558)

คณะผู้จัดทำได้เห็นผู้ปกครองและชาวบ้านนำเอาเนื้อหมูมาตากแห้ง การนำเนื้อหมูมาประกอบอาหาร ถือเป็นการประกอบอาหารของคนไทยสมัยก่อน เพื่อเป็นการเก็บรักษาเนื้อหมูให้อยู่ได้นานและทำให้มีรสชาติที่อร่อย ซึ่งรสชาติเมื่อทอดเสร็จจะออกกลมกล่อม ไม่จืด ไม่เค็ม เกินไป 

วิธีการดำเนินการ

1.      ล้างเนื้อหมูให้สะอาด นำเนื้อหมูมาแล่ เป็นชิ้นบางหน่อย (หนาประมาณ 1 เซนติเมตร) แต่อย่าบางมาก ถ้าบางมากไป เวลานำไปตากแดดจะแห้งมากเกินไป เนื้อหมูบางส่วนอาจท่อนเป็นชิ้นๆด้วยก็ได้

2.      โขลกกระเทียม รากผักชี พริกไทยให้ละเอียด ได้ที่แล้วนำไปหมักเนื้อหมู

3.      จากนั้นเติมน้ำตาล, น้ำปลา, ซอสหอยนางรม, งาขาว และผงปรุงรส ลงไป 

4.      คลุกเคล้าหรือนวดด้วยมือจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี และทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง 

5.      นำเนื้อหมูไปตากแดดไว้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง กลับเนื้อหมูบ้างเป็นระยะ  (โดยตากแดดไปสัก 2ชั่วโมงเนื้อหมูด้านหนึ่งจะแห้งก็ทำการกลับเนื้อหมูแล้วตากอีกด้านไปอีก 2 ชั่วโมง) 

6.      สำหรับการทอด ให้ใส่น้ำมันลงในกระทะและนำไปตั้งไฟ รอจนน้ำมันร้อนจึงนำหมูหมักลงไปทอดจนสุกทั่ว จัดหมูทอดใส่จานพร้อมเสริฟ

สรุปผล

1.       สามารถเก็บเนื้อหมูไว้ได้เป็นระยะเวลานาน

2.       เป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง

© 2023 by Beyond the Frame. Proudly created with Wix.com

  • Facebook Clean Grey
  • Twitter Clean Grey
  • Instagram Clean Grey
bottom of page